ชันโรง (Stingless Bee)

Maejo University Archives · IH – EP6 – Stinglessbee1

ชันโรง (Stingless Bee) เป็นแมลงจำพวกผึ้งที่ไม่มีเหล็กใน  Subfamily Meliponinae, family Apidae, Order Hymenoptera  ชันโรงจะมีความสัมพันธ์และวิวัฒนากรที่ใกล้ชิดกับผึ้งพันธุ์ (honey bee), ผึ้งหึ่ง (bumble bee), และผึ้งกล้วยไม้ (orchid bee)  ชันโรงมีวิวัฒนาการมายาวนานถึง 80 ล้านปีแล้ว 

ชันโรง (Stingless Bee) เป็นแมลงจำพวกผึ้งที่ไม่มีเหล็กใน  Subfamily Meliponinae, family Apidae, Order Hymenoptera  ชันโรงจะมีความสัมพันธ์และวิวัฒนาการที่ใกล้ชิดกับผึ้งพันธุ์ (honey bee), ผึ้งหึ่ง (bumble bee), และผึ้งกล้วยไม้ (orchid bee)  ชันโรงมีวิวัฒนาการมายาวนานถึง 80 ล้านปีแล้ว  ปัจจุบันทั่วโลกพบชันโรงประมาณ 500 ชนิด  โดยพบมากในเขตร้อนตลอดจนบริเวณใกล้เคียงที่ติดกับเขตร้อน  จำนวนชนิดของชันโรงที่จำแนกชนิดแล้ว  จะพบในทวีปแอฟริกา 50 ชนิด, ทวีปอเมริกา 300 ชนิด, ทวีปเอเชีย 60 ชนิด, ทวีปออสเตรเลีย 10 ชนิด และที่มาดากัสก้า 4 ชนิด (Bradbear, 2009)  ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 5 สกุล คือ MeliponaTrigonaMeliponinaDetylurina, และ Lestrimelitta  โดยสกุล Trigona จะพบบ่อยในพื้นที่เขตร้อน (Heard, 1999; Michener, 2000; Klakasikorn et al., 2005)

ในประเทศไทย  มีรายงานผลการสำรวจชันโรงสกุล Tetragonula  ว่าพบและจำแนกชนิดแล้วประมาณ 30 ชนิด โดยมีการแพร่กระจายพันธุ์ทั่วทุกภาคของประเทศ แต่จำนวนชนิดที่อาศัยในแต่ละภาคจะต่างกัน ภาคใต้เป็นภาคที่มีความหลากชนิดของชันโรงสูงสุด ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความหลากชนิดของชันโรงน้อยที่สุด  สำหรับชนิดชันโรงที่พบทั่วทุกภาคได้แก่  ผึ้งจิ๋วขนเงิน (Tetragonula pagdeni Schwarz),ผึ้งจิ๋วหลังลาย (T. fuscobalteataCameron),  ผึ้งจิ๋วรุ่งอรุณ (T. laeviceps Smith), ชันโรงใต้ดิน (T. collina Smith),และชันโรงปากแตร (T. terminata  Smith)  (Schwarz, 1939; Sakagami et al., 1985; Micheener and Boongird, 2004; สมนึก, 2552) ชันโรงจะมีขนาดที่แตกต่างกันมาก เช่น Melipona fulginnosa  มีลำตัวยาวกว่า 13  มิลลิเมตร  ส่วน Trigona  duckei  ลำตัวยาวเพียง 2 มิลลิเมตรเท่านั้น  ขนาดของโคโลนีก็แตกต่างกัน  ตั้งแต่หลักร้อยในสกุล Melipona  ไปจนถึงหลักหมื่นในสกุล Trigona   (Sommeijer, 1999)

ชันโรงจัดเป็นแมลงสังคมชั้นสูง (eusocial insects) ที่ภายในรังประกอบด้วยวรรณะ 3 วรรณะด้วยกัน คือ นางพญา (queen), เพศผู้ (drone), และชันโรงงาน (worker) (Velthuis, 1997)   โดยในแต่ละวรรณะจะทำหน้าที่ภายในรังแตกต่างกันไป โดยนางพญาจะมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้และชันโรงงาน ใน 1 รวงรัง จะมีนางพญา 2 ตัวหรือมากกว่า ทำหน้าในการวางไข่และดูแลชันโรงทุกตัวในรังให้อยู่ในความเรียบร้อย   ส่วนชันโรงเพศผู้จะทำหน้าที่ในการผสมพันธุ์เพียงอย่างเดียว สำหรับชันโรงงานจะทำหน้าที่ในการซ่อมแซมรัง คอยทำความสะอาดและเป็นพี่เลี้ยงช่วยนางพญาดูแลตัวอ่อน  ตลอดจนหาอาหารเลี้ยงสมาชิกภายในรัง โดยการออกเก็บละอองเกสรและน้ำหวานของดอกไม้  ละอองเกสรที่ได้จากดอกไม้จะเป็นแหล่งโปรตีน ส่วนแหล่งของพลังงานจะได้จากคาร์โบไฮเดรตหรือน้ำตาลที่มีในน้ำหวานของดอกไม้  (Bradbear N., 2009)

รังของชันโรงส่วนใหญ่จะสร้างรังอยู่ภายในช่องว่างที่ปลอดภัย เช่น รอยแตกของต้นไม้, โพรงไม้, ใต้ดิน เป็นต้น สารที่นำมาใช้สร้างรังหลัก คือ ซีรูเมน (cerumen) ซึ่งเกิดจากส่วนผสมของไขผึ้งและยางไม้  ทางเข้ารัง ( entrance tube )จะมีลักษณะเป็นช่องแคบ  (Sommeijer, 1999) ซึ่งจะช่วยป้องกันการเข้ารุกรานของศัตรู ได้แก่ ผึ้งชนิดอื่นๆ, แมลงวันหลังค่อม (phorid fly: Pseudohypocera sp.), แมลงวันหัวบุบ (robber flies), มวนเพชฌฆาต (assassin bug),มด, นก, กิ่งก่า เป็นต้น   (Macharia et al., 2007; Wattanachaiyingcharoen and Jongjitvimol, 2007; Bradbear, 2009)

ลักษณะโครงสร้างภายในรังของชันโรงจะประกอบไปด้วยห้องของตัวอ่อน (brood chamber)แยกเป็นสัดส่วนออกจากพื้นที่สะสมอาหาร  บริเวณห้องของตัวอ่อนจะมีการสร้างเซลล์ตัวอ่อน (brood cells)  เป็นชั้นๆ ตามแนวนอน โดยเซลล์ตัวอ่อนของนางพญาใหม่ (Queen cell) จะมีขนาดใหญ่กว่าเซลล์ของชันโรงงาน และจะอยู่ส่วนบนสุดของเซลล์ตัวอ่อน  ห้องของตัวอ่อนจะถูกห่อหุ้มด้วยผนังที่ทำจากไขและโพรโพลิส  เรียกว่า involucrum   ส่วนบริเวณพื้นที่สะสมอาหารจะประกอบไปด้วย ถ้วยน้ำผึ้ง (honey pots) และ ถ้วยเกสร (pollen pots)  ชันโรงแต่ละชนิดจะมีขนาดของเซลล์ตัวอ่อน ถ้วยเกสร และถ้วยน้ำผึ้งที่แตกต่างกัน  ขึ้นอยู่กับขนาดของลำตัวชันโรง  ถ้าชันโรงมีลำตัวขนาดใหญ่ ก็จะสร้างเซลล์ตัวอ่อน ถ้วยเกสรและถ้วยน้ำผึ้งใหญ่ตามไปด้วย

Author: ผศ. ดร.ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึก