ประโยชน์ของชันโรง

การใช้ชันโรงเป็นแมลงผสมเกสร                  

Maejo University Archives · IH – EP8 – ประโยชน์ของชันโรง

เนื่องจากชันโรงมีวิวัฒนาการร่วมกับพืชท้องถิ่นมาเป็นเวลานาน ชันโรงจึงเป็นแมลงผสมเกสรที่มีศักยภาพมากชนิดหนึ่ง เพราะชันโรงลงตอมดอกไม้ได้หลากหลายชนิด และมีรังที่จัดการได้ง่ายเพราะไม่ต่อย ขนาดรังไม่ใหญ่ สะดวกต่อการขนย้าย ในระหว่างฤดูกาลที่ไม่ใช่ฤดูกาลที่ใช้งานชันโรง เพียงดูแลรังไม่ให้อยู่ในสภาพอากาศที่รุนแรง เช่น ความชื้นสูง หรือถูกแดดจัด ไม่มีศัตรูรบกวน มีพืชอาหารในธรรมชาติพอประมาณ รังชันโรงก็สามารถนำไปใช้ในฤดูกาลต่อไปได้เป็นอย่างดี

ชันโรง สามารถเป็นแมลงผสมเกสรที่ดีแก่พืชหลายชนิด เช่น เงาะ ลิ้นจี่ สตอเบอรี่ แต่ชันโรงไม่สามารถผสมพันธุ์ให้แก่ทานตะวันกินเมล็ดพันธุ์เชียงรายได้ (อัญชลี, 2552) และมีผลการทดลองที่แสดงให้เห็นว่าเปอร์เซ็นต์การติดผลของแตงกวา มีน้อยมาก เมื่อใช้ชันโรงผสมเกสร (นพพล และคณะ, 2552)ซึ่งผลการทดลองแสดงให้เห็นถึงความเหมาะสมของชนิดพืช ลักษณะของดอกไม้ที่เหมาะสมกับการใช้ชันโรงในการเป็นแมลงผสมเกสร ดังนั้น การเลือกใช้ชันโรงผสมเกสรจึงควรมีการตรวจสอบทดลองประสิทธิภาพการเป็นแมลงผสมเกสรของชนิดชันโรงกับชนิดพืชนั้น ๆ ก่อน

การขายรังหรือให้เช่ารังชันโรง

ผลสืบเนื่องจากการที่ชันโรงเป็นแมลงผสมเกสรไม้ผลหลายชนิดที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ความต้องการรังชันโรงของเกษตรกรมีปริมาณสูง ทำให้มีธุรกิจการขายรังชันโรง หรือให้เช่ารังชันโรง เพื่อวางในสวนผลไม้ในช่วงดอกไม้บานเกิดขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีการตั้งราคาขายรังกันตั้งแต่รังละ 700 บาท ขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของชันโรง (ความยากง่ายในการขยายพันธุ์ของชันโรงชนิดนั้นๆ) ส่วนการให้เช่ารังชันโรงนั้นในระยะแรก มักจะให้เช่าในราคาประมาณรังละ 300 บาทต่อช่วงระยะเวลาที่ดอกเงาะบาน แต่ปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงไม่นิยมให้เช่ารัง เนื่องจากประสบปัญหารังล่มสลายจากการใช้สารเคมีของสวนที่เช่ารัง หรือความไม่ซื่อสัตย์ของเจ้าของสวนที่เช่ารังชันโรงแล้วแอบแยกขยายรังชันโรงที่เช่าไป เป็นต้น

การใช้ประโยชน์จากน้ำผึ้งชันโรง

คนทั่วไปในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกที่มีชันโรงเป็นแมลงในท้องถิ่น เชื่อกันว่าน้ำผึ้งจากชันโรงมีสรรพคุณทางยามากกว่าน้ำผึ้งจากผึ้งในสกุล  เอพิส (Apis) เช่น ผึ้งพันธุ์ (Apismellifera) Sawatthum, et al. (2008) ได้แสดงผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำผึ้งจากชันโรง 3 ชนิด คือชันโรงขนเงิน Tetragonulapegdeni Schwarz,ชันโรงถ้วยดำ Tetragonulalaeviceps Smith และ ชันโรงปากแตร Lepidotrigonaterminata Smith เปรียบเทียบกับน้ำผึ้งจากผึ้งพันธุ์จากดอกไม้ 2 ชนิดคือ ลำไย และเงาะ

Author: ผศ. ดร.ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึก