ผึ้งจิ๋วจะมีพฤติกรรมคาบเกี่ยวระหว่างผึ้งรวงสังคมชั้นสูงแท้จริง (highly eusocial insect) กับผึ้งป่ากึ่งสังคม (semisocial insect) อย่างไรก็ตามพฤติกรรมที่ผึ้งจิ๋วแสดงออกมาก็มีเอกลักษณ์จำเพาะ เช่น อาหารของตัวหนอนผึ้งป่า คือเกสรอย่างเดียว 100%แต่อาหารของชันโรงหรือผึ้งจิ๋วคือ เกสร 80% กับน้ำผึ้ง 20% ส่วนอาหารของผึ้งรวงที่ป้อนหนอนอายุไม่เกิน 3 วันนั้นเป็นนมผึ้ง ส่วนหนอนที่อายุเกิน 3วันไปแล้วเป็นเกสรผสมน้ำผึ้งเช่นกัน สำหรับป้อนหนอนที่จะเจริญเติบโตไปเป็นผึ้งงานและผึ้งตัวผู้ ส่วนหนอนที่จะเจริญไปเป็นนางพญาต้องได้อาหารดีคือนมผึ้ง
ผึ้งป่าวางไข่บนก้อนเกสรที่เตรียมเอาไว้ให้ตัวหนอนแต่ละตัวกินเอง ผึ้งจิ๋วก็เตรียมอาหารทั้งหมดเอาไว้ในเซลล์หรืถ้วยก่อนที่นางพญาแม่รังจะขึ้นไปวางไข่ปักไปบนผิวอาหารแล้วเซลนั้นถูกปิดทันที แต่ผึ้งรวงป้อนอาหารตัวอ่อนแบบค่อยเป็นค่อยไป มีละนิดทีละหน่อย เรียกว่า progressive feeding มีความเป็นอิสระมากกว่าชันโรง แต่ความเป็นอิสระอยู่บนพื้นฐานของสังคม มิใช่อิสระแบบสันโดษเหมือนผึ้งป่า โดยผึ้งงานพี่เลี้ยง แต่ละวรรณะต้องทำงานร่วมกับนางพญาแม่รัง นางพญาจึงเป็นศูนย์รวมอำนาจในรังผึ้ง แต่ก็มีผึ้งงานสามารถคานอำนาจนางพญาแม่รังได้ระดับหนึ่ง
การเจริญเติบโตของผึ้งจิ๋วหรือชันโรง เริ่มจากไข่ ฟักเป็นตัวหนอน จากนั้นลอกคราบอีก 5 ครั้ง การลอกคราบทำให้ตัวหนอนโตขึ้น จนถึงระยะจะเข้าดักแด้ เริ่มชักใยหุ้มตัว จากนั้นก็จะหยุดนิ่งไม่กินอาหารประมาณ 1 วัน เริ่มพัฒนาเป็นดักแด้โดยการเปลี่ยนรูปร่างจากดักแด้เป็นตัวผึ้ง มีสีขาวใสทั้งตัว จากนั้นตารวมเริ่มเปลี่ยนสีเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นสีดำ ส่วนปีกพัฒนาทีหลัง ก่อนที่จะออกมาเป็นตัวเต็มวัย 2 วันปีกจะยืดยาวจนสมบูรณ์ จากนั้นเริ่มเคลื่อนไหวให้ผึ้งงานภายนอกรู้ ก็จะช่วยกัดผนังดักแด้ออก มาจากดักแด้นั้นยังมีสีอ่อนอยู่ เม็ดสียังไม่เจริญเต็มที่ต้องกินอาหาร ประมาณ 2 -4 วัน ก็จะเป็นตัวเต็มวัยที่สมบูรณ์ เริ่มทำความสะอาดรัง ด้วยการขนซาก และสิ่งปฏิกูลที่ตัวหนอนถ่ายมูลไว้ รวบรวมไปไว้แถวด้านหน้ารังเพราะบินยังไม่ได้ ใช้วิธีเดินขนไปมาอย่างเดียว การขนสิ่งปฏิกูลไปทิ้งนอกรังเป็นหน้าที่ของผึ้งงาน การทำงานในรัง รอการพัฒนา ระบบต่อมต่างๆ ในตัวให้สมบูรณ์ เช่น ต่อมไขผึ้ง ต่อมผลิตอาหาร ต่อมสารเตือนภัยหรือต่อมใต้ฟันกราม จนสมบูรณ์แล้ว เป็นการทำหน้าที่ตามอายุของผึ้งงาน หน้าที่สุดท้ายคือการออกหาอาหารไปจนถึงวันหมดอายุในที่สุด
ระยะการเจริญเติบโตพัฒนาของผึ้งงาน
ตั้งแต่ระยะไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย เป็นดังนี้
ระยะ เวลาที่ใช้ในการเจริญเติบโตเฉลี่ย(วัน)
ไข่ 6.5
ตัวหนอน ระยะที่ 1 1
ตัวหนอน ระยะที่ 2 1
ตัวหนอน ระยะที่ 3 1
ตัวหนอน ระยะที่ 4 1.5 – 2
ตัวหนอน ระยะที่ 5 1.5 – 2
ระยะ ก่อนเข้าดักแด้
(แทะซีรูเมนออกไป) 2.5
จากระยะไข่ จนดักแด้สีขาว (15 – 16)
ระยะดักแด้ ตาสีขาว 7.5
ระยะดักแด้ ตาสีน้ำตาล 7.5
ระยะดักแด้ ตาสีดำ 9
ตัวเต็มวัย 39-40
Author: ผศ. ดร.ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์