การเพาะเลี้ยงชันโรงเชิงการค้า

การแยกขยายรังชันโรง

Maejo University Archives · IH-EP.9 การเพาะเลี้ยงชันโรงเพื่อการค้า

ในปัจจุบัน เรายังไม่สามารถแยกขยายรังชันโรงโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ได้เหมือนกับการแยกขยายรังของผึ้งพันธุ์ เนื่องจากยังไม่สามารถสร้างนางพญาของชันโรงโดยวิธีย้ายตัวอ่อนได้แต่สามารถขยายพันธุ์โดยอาศัยวิธีการแบบธรรมชาติซึ่งยังขาดประสิทธิภาพในการขยายพันธุ์ชันโรง อนึ่งในการขยายพันธุ์ชันโรงต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้เลี้ยงเป็นสำคัญ คือ ต้องอยู่ในช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสมกล่าวคือ ชันโรงรังนั้น ๆ มีความต้องการที่จะขยายรังอยู่แล้วทำได้ดังนี้

  1. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการขยายรังชันโรง – รังที่จะทำการแยกขยาย – เหล็กงัดรังชนิดเดียวที่ใช้ในการเลี้ยงผึ้ง – หมวกตาข่าย – เครื่องพ่นควัน – กระบอกพ่นน้ำชนิดพ่นฝอย
  2. คัดเลือกรังชันโรงที่สมบูรณ์แข็งแรงมีประชากรชันโรงหนาแน่นมีการสะสมอาหารและน้ำหวานไว้ภายในรังจำนวนมากมีการสร้างเซลล์นางพญาและเซลล์ตัวอ่อน
  3. ตัดแบ่งกระเปาะเกสร กระเปาะน้ำหวาน กระเปาะตัวอ่อน ประมาณ 1 ใน 3 ของรังเดิมถ้าพบเซลล์นางพญาให้ตัดมาด้วย และให้มีตัวเต็มวัยของชันโรงติดมาด้วยเพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ ในรังที่แยกใหม่
  4. ควรตรวจเช็คส่วนที่แยกใส่รังใหม่ให้แน่ใจว่าไม่มีนางพญาชันโรงตัวเดิมติดมาด้วย
  5. หลังจากนั้นจากเกิดขบวนการสร้างนางพญาชันโรงตัวใหม่ขึ้นตามธรรมชาติโดยจะมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการแยกขยายรังชันโรงประมาณ 30 – 40 %
  6. ช่วงเวลาที่แยกขยายรังชันโรงคือ ช่วงฤดูดอกไม้บานมีการสะสมอาหารไว้ภายในรังเป็นจำนวนมากและภายในรังได้มีการสร้างชันโรงตัวผู้จำนวนมากสำหรับการผสมพันธุ์กับนางพญาชันโรงตัวใหม่

การทำการแยกขยายพันธุ์ชันโรง ยังไม่มีวิธีการที่ให้ผลแน่นอนขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาทดลอง ดังนั้นการแยกขยายพันธุ์ชันโรงยังต้องอาศัยประสบการณ์ช่วงเวลาและโอกาสที่เอื้ออำนวยของธรรมชาติเป็นสำคัญ

ศัตรูและการป้องกันกำจัด

ชันโรงมีลำตัวขนาดเล็กและลักษณะการบินไม่เป็นแนวตรงหรือโค้ง การบินของชันโรงจะเป็นแบบหักมุมซ้ายบ้างขวาบ้าง ทำให้หลบศตรูได้ง่าย ยากแก่การจับกินของแมลงและนกต่างๆ ภายในรังของชันโรงจะเก็บยางไม้สำหรับป้องกันศัตรู และศัตรูที่สำคัญของชันโรงมีดังต่อไปนี้

  1. นกที่กินแมลง จะไปจับเกาะบริเวณดอกไม้ที่มีชันโรงตอมอยู่ ทำให้ง่ายต่อการจับกิน
  2. มดเป็นแมลงที่ชอบกินน้ำหวาน จะรบกวนก็ต่อเมื่อย้ายรังใหม่ๆ โดยที่จะเข้าไปกินน้ำหวานภายในรังทำให้ชันโรงหนีไป
  3. มวนเป็นศัตรูใช้ปากเจาะดูดน้ำเลี้ยงของชันโรง โดยจะจับชันโรงที่ใกล้ๆรัง ถ้าหากมีชันโรงจำนวนมากชันโรงก็จะลดลงอย่างเห็นได้ชัด
  4. หนอนแมลงวันจะเข้าทำลายในระยะที่เป็นหนอนไปกัดถ้วยน้ำหวานและกินน้ำหวานของชันโรง หากมีมากอาจทำให้ชันโรงทิ้งรังก็เป็นได้

ผลิตภัณฑ์และการแปรรูป

การเลี้ยงผึ้งจิ๋วนอกจากจะเลี้ยงเอาไว้ผสมเกสรพืชเป้าหมายแล้ว ยังให้ผลิตภัณฑ์ คือชันผึ้งเหลวในรัง ที่สามารถเก็บรวบรวมมาใช้เป็นสมุนไพรได้ด้วย เพราะตัวผึ้งจิ๋วจัดเป็นตัวสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพได้ดี โดยมีน้ำย่อยและสัญชาตญาณรู้ว่าพืชชนิดใด ส่วนใดมีสารที่นำมาฆ่าเชื้อโรคในรังของผึ้งจิ๋วได้ ผึ้งจิ๋วมีพฤติกรรมออกเก็บรวบรวมชันผึ้งเหลวทุกวัน สามารถบังคับผึ้งจิ๋วให้หากินในรัศมีไม่เกิน 300 เมตร โดยรอบ ๆ ปลูกพืชสมุนไพรที่คัดเลือกว่ามีสารออกฤทธิ์ทางยาจะเป็นการดียิ่งขึ้น เพราะเมื่อนำน้ำผึ้งชนิดนี้มาผสมกับพืชสมุนไพรเป็นตัวยา สมุนไพรไทยก็จะมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังทำน้ำผึ้งได้อีกด้วย

Author: ผศ. ดร.ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึก